15 August 2011
20 ปี "เวิลด์ไวด์เว็บ" ชาตะกรรมแห่งฐานันดร5
ที่มา
6 สิงหาคม 1991 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ ซึ่งทำงานอยู่ที่สำนักงานขององค์การเพื่อการวิจัยทางนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือที่รู้จักกันดีว่าในชื่อ "เซิร์น" เชื้อเชิญบรรดาเพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักคิดที่ร่วมกลุ่มถกเรื่องต่างๆ อยู่ใน "ยูสเน็ต" ให้ร่วมกันเข้าไปดูสิ่งที่เขาคิดค้นและเพิ่งสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
สิ่งนั้นคือ "เว็บเพจ" หน้าแรกของโลก ที่อยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเพื่อนร่วมงานที่ "เซิร์น" รายหนึ่งเป็นเจ้าของ
ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี สร้างขึ้น กับ "ยูสเน็ต" ที่พวกเขาใช้อยู่เดิม (รวมถึงเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในแวดวงวิชาการอื่นๆ ในเวลานั้น) ก็คือ มันมีเซิร์ฟเวอร์ที่ตายตัวแน่นอน นั่นทำให้ทุกคนที่รู้ "ที่อยู่" ของหน้าเว็บดังกล่าวสามารถ "เข้าถึง" ได้ แตกต่างจาก "ยูสเน็ต" ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับ "บีบีเอส" (บุลเลตินบอร์ดเซอร์วิส) ซึ่งจะเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ที่อยู่ในแวดวงเดียวกันที่รู้กันดีเท่านั้นเอง
ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ต้องการทำลายข้อจำกัดดังกล่าว เขาร่วมมือกับนิโคลา เพลโลว์ นักคณิตศาสตร์สาวชาวอังกฤษ เขียน "ไลน์-โหมด บราวเซอร์" ตัวแรกของโลกขึ้นมา
ใช้คอมพิวเตอร์ทรงพลังที่ "สตีฟ จ็อบส์" เป็นผู้สร้างขึ้นชื่อรุ่น "เน็กซ์" เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับ "เว็บโฮสติ้ง" ตัวแรก
โรเบิร์ต เคลลิอู นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักสารสนเทศชาวเบลเยียม ทำงานอยู่ที่เซิร์นเช่นเดียวกัน และกำลังพยายามพัฒนาอะไรบางอย่างที่มีแนวความคิดคล้ายคลึงกัน แต่ทันทีที่เขาได้ยินข่าวเกี่ยวกับเว็บเพจของเบอร์เนอร์ส-ลี เขาเลิกล้มโครงการที่ทำขึ้นทั้งหมด แล้วหันมาร่วมพัฒนาสิ่งที่เบอร์เนอร์ส-ลีและนิโคลา เพลเลอร์ เริ่มต้นเอาไว้
พวกเขาเรียกมันในเวลาต่อมาว่า "เวิลด์ไวด์เว็บโปรเจ็กต์" ซึ่งกลายเป็นที่มาของ "เวิลด์ไวด์เว็บ" หรือ "อินเตอร์เน็ต" หรือ "เครือข่ายคอมพิวเตอร์สากล" อย่างที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในปัจจุบันนี้
30 เมษายน 1993 "เซิร์น" ประกาศให้ "เวิลด์ไวด์เว็บ" เป็นส่วนหนึ่งของ "พับลิกโดเมน" หรือ "ปริมณฑลของสาธารณะ" นั่นหมายถึงการมอบมันให้เป็น "ทรัพย์สินของทุกคน"
ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี เขียนไว้ในวาระนั้นว่า เป้าหมายของการมอบทุกอย่างให้เป็นของทุกคนก็เพื่อให้มันทำหน้าที่เป็นแหล่งสำหรับ
"การแลกเปลี่ยนความรู้โดยปราศจากการเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นใคร หรืออยู่ ณ สถานที่แห่งใดในโลกใบนี้"
การเกิดของ "เวิลด์ไวด์เว็บ" หรือ "อินเตอร์เน็ต" อย่างที่เราเรียกกันติดปากนั้น น่าสนใจอย่างยิ่งที่ว่าเป็นการถือกำเนิดที่เรียบง่าย เป็นกันเอง และธรรมดาอย่างยิ่ง ไม่ใช่เหตุการณ์เขย่าโลกในท่วงทำนองของ "การลอบสังหารเจเอฟเค" หรือ "การปฏิวัติอิสลาม" หรือแม้แต่กระทั่งใกล้เคียงกับ "จัสมีนเรฟโวลูชั่น" อย่างที่เราเห็นกันอยู่
กระนั้น สิ่งที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้ที่ได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ขุนนางระดับ "อัศวิน" จากสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 เป็น "เซอร์ทิม" เมื่อปี 2004 ให้กำเนิด ก่อความเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินขึ้นมากมายในวิถีชีวิตมนุษย์
สิ่งที่อินเตอร์เน็ตรังสรรค์ขึ้นนั้นกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ถึงราก ลึกลงไปจนถึงฐานรากของวิถีสังคมมนุษย์ชนิดที่ยากอย่างยิ่งที่จะหาการเปลี่ยนแปลงใดทำได้เทียบเท่า
เหล็ก น้ำมัน พลาสติก และเครื่องจักรไอน้ำ คือไม่กี่อย่างที่ทรงพลังในทำนองเดียวกันกับอินเตอร์เน็ต แต่ไม่มีสิ่งใดซับซ้อน ปราดเปรียว ว่องไว และพัฒนาไปไม่หยุดยั้งแบบเดียวกับอินเตอร์เน็ต
อาจบางที แม้แต่เซอร์ทิมเองก็ไม่ได้คาดคิดว่า สิ่งที่เขาให้กำเนิดขึ้นมาเมื่อ 20 ปีก่อนจะแพร่หลายระบาดออกไปอย่างรวดเร็วมากมายเท่านี้ รังสรรค์ทั้งสิ่งดีงามและชั่วร้ายได้มากเท่านี้
เพราะเวลาในเวิลด์ไวด์เว็บผ่านไปรวดเร็วอย่างยิ่ง เพียงแค่ 2 ทศวรรษที่ผ่านไป เราก็ลืมเลือนไปแล้วว่า เราเคยมีเว็บบราวเซอร์ตัวแรกชื่อ "โมเสค" หลายคนจำไม่ได้แล้วว่า "เนตสเคป" ที่เคยเถลิงอำนาจในอินเตอร์เน็ตในเวลาต่อมาอีกไม่ช้าไม่นานหน้าตาเป็นอย่างไร
จากหน้าเว็บแรกของโลกที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี นำเอา "วิทยานิพนธ์" ของตนเองชื่อ "ต้นร่างสำหรับนำเสนอเพื่อทำวิทยานิพนธ์ : การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร" ไปโพสต์เอาไว้ ทุกวันนี้ผู้คนสามารถหาทุกอย่างได้จากอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ "สูตรการสร้างระเบิดปรมาณู" เรื่อยไปจนถึง "แว่นกันแดดราคาถูก" และ "ฮอตเครซี่ไวฟ์" เมียสั่งเร่าร้อนจากต่างแดน
เวิลด์ไวด์เว็บเติบใหญ่ออกไปทุกทิศทุกทาง เติบโตนอกเหนือความคาดหมายของทุกผู้คน เกินที่จินตนาการของใครต่อใครจะก้าวไปถึงได้
วันนี้ 1 ใน 3 ของประชากรอังกฤษ ระบุชัดเจนในแบบสอบถามว่า อินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง เป็นที่มาของแหล่งข้อมูลที่ขาดเสียไม่ได้มากกว่าหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์
ผู้คนทั่วโลกคงมีจำนวนไม่น้อยที่คิดเห็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นทำให้สถานะของ "เวิลด์ไวด์เว็บ" เปลี่ยนแปลงไป
วิลเลียม ดัตตัน ผู้อำนวยการสถาบันอินเตอร์เน็ตแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษบอกว่า ถ้าหากผู้สื่อข่าวคือฐานันดรที่ 4 ของสังคมมนุษย์
อินเตอร์เน็ต หรือเวิลด์ไวด์เว็บ ก็กลายเป็น "ฐานันดรที่ 5" ไปแล้ว!
เอ็ดมุนด์ เบิร์ค ประชดประเทียดไว้กลางรัฐสภาอังกฤษเมื่อปี 1787 ว่า ถ้าหากผู้นำทางจิตวิญญาณทั้งหลายคือฐานันดรแรกสุด ขุนนางและบุคคลชั้นสูง คือฐานันดรถัดมา และสามัญชนทั้งหลายคือ ฐานันดรที่ 3 บรรดาสื่อมวลชนทุกคนในที่นั้น ที่เขากราดนิ้วไปถึงได้ ก็คือ ฐานันดรใหม่-ฐานันดรที่ 4
อินเตอร์เน็ตยิ่งนับวันกลายเป็น "สื่อ" ที่ทรงพลังอย่างยิ่งในมือของผู้คนทั่วไป แต่มันเป็น "ฐานันดร 5" ได้อย่างไรกัน?
เวิลด์ไวด์เว็บ ในฐานะฐานันดร 5 เพิ่งก่อรูปชัดเจนได้ไม่นาน เพิ่งวิวัฒนาการเป็นรูปธรรมเด่นชัดอย่างยิ่งเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ยิ่งนับวันพลานุภาพในฐานะ "ฐานันดรที่ 5" ของอินเตอร์เน็ตยิ่งแข็งแกร่งขึ้น มั่นคงขึ้น และหลากหลายมากขึ้นจน "รัฐบาล" หรือ "ผู้ปกครอง" ในหลายๆ ประเทศเริ่มมองหา "คิลสวิตช์" ปิดตายมันลง
การเกิดของ "เว็บ 2.0" และ "โซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง" เว็บไซต์ คือรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งนักของมัน
สิ่งหนึ่งที่เวิลด์ไวด์เว็บทำได้ดี และดีกว่าทุกๆ สื่อก็คือการเป็นสถานที่สำหรับ "มองหา" คนที่มีรสนิยมเดียวกัน คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และคนที่มีความคิดในทิศทางเดียวกัน
1 ใน 3 ของคู่แต่งงานที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาในเยอรมนีทุกวันนี้ เจอะเจอกันบนอินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ บนเว็บฟอรั่ม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้งไซต์สักแห่ง
สโมสรฟุตบอลบางแห่ง มีสมาชิกผ่านเว็บไซต์ทางการของสโมสร มากกว่าจำนวนสมาชิกของพรรคการเมืองบางพรรค
ถ้าเวิลด์ไวด์เว็บบันดาลให้เกิดสิ่งเหล่านั้นได้ ทำไมจะบันดาลให้เกิดการปฏิวัติขึ้นในที่ใดที่หนึ่ง-ไม่ได้
ผู้คนอาจใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรวมกลุ่มของผู้คนในรสนิยมเดียวกันในเรื่องราวต่างๆหลากหลาย ตั้งแต่การเลี้ยงลูก, เพื่อความบันเทิง, เพื่อพูดคุยสอบถามสารทุกข์สุกดิบ ฯลฯ แต่ในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็สามารถรวมกลุ่มเพื่อเป็นแหล่งของพลังอิสระในทางสังคมก็ได้เช่นเดียวกัน
พลังอิสระที่สามารถผลักดัน เรียกร้อง และกดดัน ให้เกิดความรับผิดชอบในทางสังคม เกิดความรับผิดชอบในทางการเมือง เกิดการบิดเปลี่ยนผันแปรวาระทางการเมือง วาระทางสังคม ได้อย่างทรงพลานุภาพ โดยที่อาจจะมากกว่า เร็วกว่า ดุดันกว่า สื่ออื่นๆ ที่เป็นเครื่องมือทั่วไปของ "ฐานันดร 4" ด้วยซ้ำไป
นี่คือ "ฐานันดรที่ 5" ครับ!
มีตัวอย่างให้เห็นมากมายถึงบทบาทของ "ฐานันดร 5" ในท่วงทำนองที่ว่านี้ ไม่ว่า "เวิลด์ไวด์เว็บ" จะก่อให้เกิดอะไรต่อมิอะไรมากมาย ทั้งเลวร้ายและดียิ่ง อินเตอร์เน็ตก็เป็นสถานที่ที่ซึ่งมีความเป็น "พหุสังคม" มากกว่าที่อื่นๆ
และทำให้สังคมมีความ "หลากหลาย" มากขึ้น ในเวลาเดียวกันก็มีความเป็น "ประชาธิปไตย" มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
การโค่นล้มระบอบการปกครองเผด็จการในหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ เริ่มต้นจากอินเตอร์เน็ต สิ่งที่เรียกขานกันว่า "อาหรับสปริง" (ฤดูใบไม้ผลิที่โลกอาหรับ) บางคราวเกิดขึ้นจากหน้าเว็บเฟซบุ๊กของใครสักคน หรือสองคน
แล้วมีคนคลิก "ไลค์" ต่อด้วยอีกหลายๆ คน จากสิบเป็นพัน เป็นหมื่น และเป็นแสนคน
ยิ่งมีอะไรมีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้ผู้คนจำนวนมาก "กราดเกรี้ยว" ได้มากเท่าใด สภาวะของการเป็น "ฐานันดร 5" ที่เรียกร้อง กดดัน ให้ต้องมี "ความรับผิดชอบ" ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น กรณีการดักฟังที่อังกฤษ เริ่มต้นจาก "เดอะ การ์เดียน" หนังสือพิมพ์ในกระแสหลักก็จริง แต่สิ่งที่ขับเคลื่อนและก่อรูปให้การลักลอบเข้าไปฟัง "วอยซ์เมลบ็อกซ์" ของมิลลีย์ ดาวเลอร์ เหยื่อฆาตกรรมกลายเป็นเรื่องที่ต้อง "หยุดยั้ง" และ "ต้องมีผู้รับผิดชอบ" กลับเป็น "มัมสเน็ทดอทคอม" เว็บไซต์สำหรับเป็นเครือข่ายของพ่อแม่ทั่วอังกฤษ
ในทันทีทันใด ทั้งเว็บไซต์บ่าท่วมด้วยความคิดเห็นกราดเกรี้ยวต่อการกระทำของ "นิวส์ออฟเดอะเวิลด์" จนกลายเป็นการรณรงค์เพื่อให้ยุติสิ่งที่ "มากเกินไป" นี้ลงให้ได้ทั่วประเทศขึ้นมา
ผู้คนบนอินเตอร์เน็ตกลายเป็นพลังอิสระ อิสระแม้แต่จากสื่อมวลชนทั่วไป กลายเป็นดวงตานับแสน นับล้านที่คอยตรวจตราสอดส่าย ยิ่งทำให้ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ยิ่งต้องระมัดระวัง ต้องรับผิดชอบ
ที่อินเดีย ประเทศที่คอร์รัปชั่นระบาดอย่างกว้างขวาง ในทุกหย่อมหญ้า ทุกระดับ มีเว็บไซต์เรียบง่ายชื่อ "ไอเพดอะไบรบ์ดอทคอม" ("ฉันจ่ายสินบน") ทำหน้าที่ต่อต้านการคอร์รัปชั่นด้วยฝีมือของคนทั่วไป คนธรรมดา และแน่นอนกับเวิลด์ไวด์เว็บ
ในเว็บไซต์นี้ ทำหน้าที่เพียงแค่รายงานการจ่ายและการรับสินบน ไม่มีการระบุชื่อผู้ให้และผู้รับ แต่กลับสร้างพลังมหาศาลเมื่อมีรายงานในกรณีเหมือนๆ กันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องเข้ามาจัดการ
โดยเพียงแค่รายงานการรับ-จ่ายสินบน "ไอเดพอะไบรบ์" สามารถแสดงให้เห็นว่า การคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นหนักหนาสาหัสที่สุดในหน่วยงานไหน ตรงส่วนใด องคาพยพไหนของหน่วยงานของรัฐ
ที่สำคัญก็คือ มันสามารถแพร่กระจายไปได้ไม่มีขอบเขตจำกัด หนึ่งสัปดาห์หลังการเปิดเว็บไซต์นี้ที่อินเดีย
เกิดเว็บไซต์ทำนองเดียวกันขึ้นนับสิบในสาธารณรัฐประชาชนจีน!
แน่นอน ด้วยความฉับพลัน ดุเดือด และกราดเกรี้ยวของ "ฐานันดร 5" สิ่งผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นมากมาย พลังของฐานันดร 5 เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นได้ง่ายและมาก เพราะ "ต้นทุน" ต่ำมาก ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายและในแง่ของ "ต้นทุน" ทางสังคม
เนื่องเพราะบน "เวิลด์ไวด์เว็บ" ทุกคนคือคน "นิรนาม" ที่อาจไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทุกอย่างที่ไหลออกจากสมองผ่านปลายนิ้วลงสู่คีย์บอร์ด
กระนั้น นั่นอาจไม่ใช่เหตุผล หรืออาจไม่ใช่เหตุผลเพียงพอที่จะจำกัดความเป็น "นิรนาม" ออกไปจากอินเตอร์เน็ตโดยสิ้นเชิง
สังคมทุกสังคมต้องผ่านการสั่งสม "ประสบการณ์" สังคมออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน
จะมีใครอีกสักกี่คนกล้าสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่เป็น "เอดส์" ในอินเตอร์เน็ตฟอรั่มสักแห่ง หากไม่สามารถคงความเป็น "นิรนาม" เอาไว้ได้
เช่นเดียวกัน อินเตอร์เน็ตคงหมดความหมายกับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ และความรับผิดชอบทางการเมืองของเจ้าหน้าที่จีน ถ้าหากไม่สามารถคงความเป็น "นิรนาม" เอาไว้ได้
อาจบางที "ลำดับชั้น" ของการคงความเป็นบุคคล "นิรนาม" เอาไว้ในบางระดับอาจยังคงจำเป็นอย่างยิ่งต่อไป
ในความเรียงที่เผยแพร่เมื่อปลายปี 2010 ที่ผ่านมา ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้ให้กำเนิดอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงคัดค้านอย่างแรงกล้าต่อความคิดเรื่องการ "ครอบงำ" เหนือสิ่งที่เขาเรียกว่า "ดิจิตอลอินฟอร์เมชั่น" จำนวนมากเอาไว้เพียงลำพังอย่างยิ่งเท่านั้น
ยังเรียกร้องให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเองแสดง "ความรับผิดชอบ" ในส่วนของตนเองออกมาด้วยเช่นเดียวกัน
แต่ดูเหมือนว่าจนกระทั่งถึงขณะนี้ "เวิลด์ไวด์เว็บ" จะเป็นเหมือน "จักรกลมีชีวิต" ที่สามารถรังสรรค์ตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง และปราศจากการควบคุมใดๆ
ไม่มีใครคาดหมายได้ว่า มันจะนำอะไรมาสู่ชีวิตคนเรา สังคมของคนเราเป็นลำดับต่อไป
ในอีก 5 หรืออีก 10 ปีข้างหน้านี้!!!
หน้า 30,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2554
6 สิงหาคม 1991 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ ซึ่งทำงานอยู่ที่สำนักงานขององค์การเพื่อการวิจัยทางนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือที่รู้จักกันดีว่าในชื่อ "เซิร์น" เชื้อเชิญบรรดาเพื่อนๆ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักคิดที่ร่วมกลุ่มถกเรื่องต่างๆ อยู่ใน "ยูสเน็ต" ให้ร่วมกันเข้าไปดูสิ่งที่เขาคิดค้นและเพิ่งสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
สิ่งนั้นคือ "เว็บเพจ" หน้าแรกของโลก ที่อยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเพื่อนร่วมงานที่ "เซิร์น" รายหนึ่งเป็นเจ้าของ
ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี สร้างขึ้น กับ "ยูสเน็ต" ที่พวกเขาใช้อยู่เดิม (รวมถึงเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในแวดวงวิชาการอื่นๆ ในเวลานั้น) ก็คือ มันมีเซิร์ฟเวอร์ที่ตายตัวแน่นอน นั่นทำให้ทุกคนที่รู้ "ที่อยู่" ของหน้าเว็บดังกล่าวสามารถ "เข้าถึง" ได้ แตกต่างจาก "ยูสเน็ต" ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับ "บีบีเอส" (บุลเลตินบอร์ดเซอร์วิส) ซึ่งจะเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ที่อยู่ในแวดวงเดียวกันที่รู้กันดีเท่านั้นเอง
ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ต้องการทำลายข้อจำกัดดังกล่าว เขาร่วมมือกับนิโคลา เพลโลว์ นักคณิตศาสตร์สาวชาวอังกฤษ เขียน "ไลน์-โหมด บราวเซอร์" ตัวแรกของโลกขึ้นมา
ใช้คอมพิวเตอร์ทรงพลังที่ "สตีฟ จ็อบส์" เป็นผู้สร้างขึ้นชื่อรุ่น "เน็กซ์" เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับ "เว็บโฮสติ้ง" ตัวแรก
โรเบิร์ต เคลลิอู นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักสารสนเทศชาวเบลเยียม ทำงานอยู่ที่เซิร์นเช่นเดียวกัน และกำลังพยายามพัฒนาอะไรบางอย่างที่มีแนวความคิดคล้ายคลึงกัน แต่ทันทีที่เขาได้ยินข่าวเกี่ยวกับเว็บเพจของเบอร์เนอร์ส-ลี เขาเลิกล้มโครงการที่ทำขึ้นทั้งหมด แล้วหันมาร่วมพัฒนาสิ่งที่เบอร์เนอร์ส-ลีและนิโคลา เพลเลอร์ เริ่มต้นเอาไว้
พวกเขาเรียกมันในเวลาต่อมาว่า "เวิลด์ไวด์เว็บโปรเจ็กต์" ซึ่งกลายเป็นที่มาของ "เวิลด์ไวด์เว็บ" หรือ "อินเตอร์เน็ต" หรือ "เครือข่ายคอมพิวเตอร์สากล" อย่างที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในปัจจุบันนี้
30 เมษายน 1993 "เซิร์น" ประกาศให้ "เวิลด์ไวด์เว็บ" เป็นส่วนหนึ่งของ "พับลิกโดเมน" หรือ "ปริมณฑลของสาธารณะ" นั่นหมายถึงการมอบมันให้เป็น "ทรัพย์สินของทุกคน"
ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี เขียนไว้ในวาระนั้นว่า เป้าหมายของการมอบทุกอย่างให้เป็นของทุกคนก็เพื่อให้มันทำหน้าที่เป็นแหล่งสำหรับ
"การแลกเปลี่ยนความรู้โดยปราศจากการเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นใคร หรืออยู่ ณ สถานที่แห่งใดในโลกใบนี้"
การเกิดของ "เวิลด์ไวด์เว็บ" หรือ "อินเตอร์เน็ต" อย่างที่เราเรียกกันติดปากนั้น น่าสนใจอย่างยิ่งที่ว่าเป็นการถือกำเนิดที่เรียบง่าย เป็นกันเอง และธรรมดาอย่างยิ่ง ไม่ใช่เหตุการณ์เขย่าโลกในท่วงทำนองของ "การลอบสังหารเจเอฟเค" หรือ "การปฏิวัติอิสลาม" หรือแม้แต่กระทั่งใกล้เคียงกับ "จัสมีนเรฟโวลูชั่น" อย่างที่เราเห็นกันอยู่
กระนั้น สิ่งที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้ที่ได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ขุนนางระดับ "อัศวิน" จากสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 เป็น "เซอร์ทิม" เมื่อปี 2004 ให้กำเนิด ก่อความเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินขึ้นมากมายในวิถีชีวิตมนุษย์
สิ่งที่อินเตอร์เน็ตรังสรรค์ขึ้นนั้นกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ถึงราก ลึกลงไปจนถึงฐานรากของวิถีสังคมมนุษย์ชนิดที่ยากอย่างยิ่งที่จะหาการเปลี่ยนแปลงใดทำได้เทียบเท่า
เหล็ก น้ำมัน พลาสติก และเครื่องจักรไอน้ำ คือไม่กี่อย่างที่ทรงพลังในทำนองเดียวกันกับอินเตอร์เน็ต แต่ไม่มีสิ่งใดซับซ้อน ปราดเปรียว ว่องไว และพัฒนาไปไม่หยุดยั้งแบบเดียวกับอินเตอร์เน็ต
อาจบางที แม้แต่เซอร์ทิมเองก็ไม่ได้คาดคิดว่า สิ่งที่เขาให้กำเนิดขึ้นมาเมื่อ 20 ปีก่อนจะแพร่หลายระบาดออกไปอย่างรวดเร็วมากมายเท่านี้ รังสรรค์ทั้งสิ่งดีงามและชั่วร้ายได้มากเท่านี้
เพราะเวลาในเวิลด์ไวด์เว็บผ่านไปรวดเร็วอย่างยิ่ง เพียงแค่ 2 ทศวรรษที่ผ่านไป เราก็ลืมเลือนไปแล้วว่า เราเคยมีเว็บบราวเซอร์ตัวแรกชื่อ "โมเสค" หลายคนจำไม่ได้แล้วว่า "เนตสเคป" ที่เคยเถลิงอำนาจในอินเตอร์เน็ตในเวลาต่อมาอีกไม่ช้าไม่นานหน้าตาเป็นอย่างไร
จากหน้าเว็บแรกของโลกที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี นำเอา "วิทยานิพนธ์" ของตนเองชื่อ "ต้นร่างสำหรับนำเสนอเพื่อทำวิทยานิพนธ์ : การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร" ไปโพสต์เอาไว้ ทุกวันนี้ผู้คนสามารถหาทุกอย่างได้จากอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ "สูตรการสร้างระเบิดปรมาณู" เรื่อยไปจนถึง "แว่นกันแดดราคาถูก" และ "ฮอตเครซี่ไวฟ์" เมียสั่งเร่าร้อนจากต่างแดน
เวิลด์ไวด์เว็บเติบใหญ่ออกไปทุกทิศทุกทาง เติบโตนอกเหนือความคาดหมายของทุกผู้คน เกินที่จินตนาการของใครต่อใครจะก้าวไปถึงได้
วันนี้ 1 ใน 3 ของประชากรอังกฤษ ระบุชัดเจนในแบบสอบถามว่า อินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง เป็นที่มาของแหล่งข้อมูลที่ขาดเสียไม่ได้มากกว่าหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์
ผู้คนทั่วโลกคงมีจำนวนไม่น้อยที่คิดเห็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นทำให้สถานะของ "เวิลด์ไวด์เว็บ" เปลี่ยนแปลงไป
วิลเลียม ดัตตัน ผู้อำนวยการสถาบันอินเตอร์เน็ตแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษบอกว่า ถ้าหากผู้สื่อข่าวคือฐานันดรที่ 4 ของสังคมมนุษย์
อินเตอร์เน็ต หรือเวิลด์ไวด์เว็บ ก็กลายเป็น "ฐานันดรที่ 5" ไปแล้ว!
เอ็ดมุนด์ เบิร์ค ประชดประเทียดไว้กลางรัฐสภาอังกฤษเมื่อปี 1787 ว่า ถ้าหากผู้นำทางจิตวิญญาณทั้งหลายคือฐานันดรแรกสุด ขุนนางและบุคคลชั้นสูง คือฐานันดรถัดมา และสามัญชนทั้งหลายคือ ฐานันดรที่ 3 บรรดาสื่อมวลชนทุกคนในที่นั้น ที่เขากราดนิ้วไปถึงได้ ก็คือ ฐานันดรใหม่-ฐานันดรที่ 4
อินเตอร์เน็ตยิ่งนับวันกลายเป็น "สื่อ" ที่ทรงพลังอย่างยิ่งในมือของผู้คนทั่วไป แต่มันเป็น "ฐานันดร 5" ได้อย่างไรกัน?
เวิลด์ไวด์เว็บ ในฐานะฐานันดร 5 เพิ่งก่อรูปชัดเจนได้ไม่นาน เพิ่งวิวัฒนาการเป็นรูปธรรมเด่นชัดอย่างยิ่งเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ยิ่งนับวันพลานุภาพในฐานะ "ฐานันดรที่ 5" ของอินเตอร์เน็ตยิ่งแข็งแกร่งขึ้น มั่นคงขึ้น และหลากหลายมากขึ้นจน "รัฐบาล" หรือ "ผู้ปกครอง" ในหลายๆ ประเทศเริ่มมองหา "คิลสวิตช์" ปิดตายมันลง
การเกิดของ "เว็บ 2.0" และ "โซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง" เว็บไซต์ คือรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งนักของมัน
สิ่งหนึ่งที่เวิลด์ไวด์เว็บทำได้ดี และดีกว่าทุกๆ สื่อก็คือการเป็นสถานที่สำหรับ "มองหา" คนที่มีรสนิยมเดียวกัน คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และคนที่มีความคิดในทิศทางเดียวกัน
1 ใน 3 ของคู่แต่งงานที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาในเยอรมนีทุกวันนี้ เจอะเจอกันบนอินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ บนเว็บฟอรั่ม หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้งไซต์สักแห่ง
สโมสรฟุตบอลบางแห่ง มีสมาชิกผ่านเว็บไซต์ทางการของสโมสร มากกว่าจำนวนสมาชิกของพรรคการเมืองบางพรรค
ถ้าเวิลด์ไวด์เว็บบันดาลให้เกิดสิ่งเหล่านั้นได้ ทำไมจะบันดาลให้เกิดการปฏิวัติขึ้นในที่ใดที่หนึ่ง-ไม่ได้
ผู้คนอาจใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรวมกลุ่มของผู้คนในรสนิยมเดียวกันในเรื่องราวต่างๆหลากหลาย ตั้งแต่การเลี้ยงลูก, เพื่อความบันเทิง, เพื่อพูดคุยสอบถามสารทุกข์สุกดิบ ฯลฯ แต่ในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็สามารถรวมกลุ่มเพื่อเป็นแหล่งของพลังอิสระในทางสังคมก็ได้เช่นเดียวกัน
พลังอิสระที่สามารถผลักดัน เรียกร้อง และกดดัน ให้เกิดความรับผิดชอบในทางสังคม เกิดความรับผิดชอบในทางการเมือง เกิดการบิดเปลี่ยนผันแปรวาระทางการเมือง วาระทางสังคม ได้อย่างทรงพลานุภาพ โดยที่อาจจะมากกว่า เร็วกว่า ดุดันกว่า สื่ออื่นๆ ที่เป็นเครื่องมือทั่วไปของ "ฐานันดร 4" ด้วยซ้ำไป
นี่คือ "ฐานันดรที่ 5" ครับ!
มีตัวอย่างให้เห็นมากมายถึงบทบาทของ "ฐานันดร 5" ในท่วงทำนองที่ว่านี้ ไม่ว่า "เวิลด์ไวด์เว็บ" จะก่อให้เกิดอะไรต่อมิอะไรมากมาย ทั้งเลวร้ายและดียิ่ง อินเตอร์เน็ตก็เป็นสถานที่ที่ซึ่งมีความเป็น "พหุสังคม" มากกว่าที่อื่นๆ
และทำให้สังคมมีความ "หลากหลาย" มากขึ้น ในเวลาเดียวกันก็มีความเป็น "ประชาธิปไตย" มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
การโค่นล้มระบอบการปกครองเผด็จการในหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ เริ่มต้นจากอินเตอร์เน็ต สิ่งที่เรียกขานกันว่า "อาหรับสปริง" (ฤดูใบไม้ผลิที่โลกอาหรับ) บางคราวเกิดขึ้นจากหน้าเว็บเฟซบุ๊กของใครสักคน หรือสองคน
แล้วมีคนคลิก "ไลค์" ต่อด้วยอีกหลายๆ คน จากสิบเป็นพัน เป็นหมื่น และเป็นแสนคน
ยิ่งมีอะไรมีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้ผู้คนจำนวนมาก "กราดเกรี้ยว" ได้มากเท่าใด สภาวะของการเป็น "ฐานันดร 5" ที่เรียกร้อง กดดัน ให้ต้องมี "ความรับผิดชอบ" ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น กรณีการดักฟังที่อังกฤษ เริ่มต้นจาก "เดอะ การ์เดียน" หนังสือพิมพ์ในกระแสหลักก็จริง แต่สิ่งที่ขับเคลื่อนและก่อรูปให้การลักลอบเข้าไปฟัง "วอยซ์เมลบ็อกซ์" ของมิลลีย์ ดาวเลอร์ เหยื่อฆาตกรรมกลายเป็นเรื่องที่ต้อง "หยุดยั้ง" และ "ต้องมีผู้รับผิดชอบ" กลับเป็น "มัมสเน็ทดอทคอม" เว็บไซต์สำหรับเป็นเครือข่ายของพ่อแม่ทั่วอังกฤษ
ในทันทีทันใด ทั้งเว็บไซต์บ่าท่วมด้วยความคิดเห็นกราดเกรี้ยวต่อการกระทำของ "นิวส์ออฟเดอะเวิลด์" จนกลายเป็นการรณรงค์เพื่อให้ยุติสิ่งที่ "มากเกินไป" นี้ลงให้ได้ทั่วประเทศขึ้นมา
ผู้คนบนอินเตอร์เน็ตกลายเป็นพลังอิสระ อิสระแม้แต่จากสื่อมวลชนทั่วไป กลายเป็นดวงตานับแสน นับล้านที่คอยตรวจตราสอดส่าย ยิ่งทำให้ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ยิ่งต้องระมัดระวัง ต้องรับผิดชอบ
ที่อินเดีย ประเทศที่คอร์รัปชั่นระบาดอย่างกว้างขวาง ในทุกหย่อมหญ้า ทุกระดับ มีเว็บไซต์เรียบง่ายชื่อ "ไอเพดอะไบรบ์ดอทคอม" ("ฉันจ่ายสินบน") ทำหน้าที่ต่อต้านการคอร์รัปชั่นด้วยฝีมือของคนทั่วไป คนธรรมดา และแน่นอนกับเวิลด์ไวด์เว็บ
ในเว็บไซต์นี้ ทำหน้าที่เพียงแค่รายงานการจ่ายและการรับสินบน ไม่มีการระบุชื่อผู้ให้และผู้รับ แต่กลับสร้างพลังมหาศาลเมื่อมีรายงานในกรณีเหมือนๆ กันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องเข้ามาจัดการ
โดยเพียงแค่รายงานการรับ-จ่ายสินบน "ไอเดพอะไบรบ์" สามารถแสดงให้เห็นว่า การคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นหนักหนาสาหัสที่สุดในหน่วยงานไหน ตรงส่วนใด องคาพยพไหนของหน่วยงานของรัฐ
ที่สำคัญก็คือ มันสามารถแพร่กระจายไปได้ไม่มีขอบเขตจำกัด หนึ่งสัปดาห์หลังการเปิดเว็บไซต์นี้ที่อินเดีย
เกิดเว็บไซต์ทำนองเดียวกันขึ้นนับสิบในสาธารณรัฐประชาชนจีน!
แน่นอน ด้วยความฉับพลัน ดุเดือด และกราดเกรี้ยวของ "ฐานันดร 5" สิ่งผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นมากมาย พลังของฐานันดร 5 เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นได้ง่ายและมาก เพราะ "ต้นทุน" ต่ำมาก ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายและในแง่ของ "ต้นทุน" ทางสังคม
เนื่องเพราะบน "เวิลด์ไวด์เว็บ" ทุกคนคือคน "นิรนาม" ที่อาจไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทุกอย่างที่ไหลออกจากสมองผ่านปลายนิ้วลงสู่คีย์บอร์ด
กระนั้น นั่นอาจไม่ใช่เหตุผล หรืออาจไม่ใช่เหตุผลเพียงพอที่จะจำกัดความเป็น "นิรนาม" ออกไปจากอินเตอร์เน็ตโดยสิ้นเชิง
สังคมทุกสังคมต้องผ่านการสั่งสม "ประสบการณ์" สังคมออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน
จะมีใครอีกสักกี่คนกล้าสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่เป็น "เอดส์" ในอินเตอร์เน็ตฟอรั่มสักแห่ง หากไม่สามารถคงความเป็น "นิรนาม" เอาไว้ได้
เช่นเดียวกัน อินเตอร์เน็ตคงหมดความหมายกับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ และความรับผิดชอบทางการเมืองของเจ้าหน้าที่จีน ถ้าหากไม่สามารถคงความเป็น "นิรนาม" เอาไว้ได้
อาจบางที "ลำดับชั้น" ของการคงความเป็นบุคคล "นิรนาม" เอาไว้ในบางระดับอาจยังคงจำเป็นอย่างยิ่งต่อไป
ในความเรียงที่เผยแพร่เมื่อปลายปี 2010 ที่ผ่านมา ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้ให้กำเนิดอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงคัดค้านอย่างแรงกล้าต่อความคิดเรื่องการ "ครอบงำ" เหนือสิ่งที่เขาเรียกว่า "ดิจิตอลอินฟอร์เมชั่น" จำนวนมากเอาไว้เพียงลำพังอย่างยิ่งเท่านั้น
ยังเรียกร้องให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเองแสดง "ความรับผิดชอบ" ในส่วนของตนเองออกมาด้วยเช่นเดียวกัน
แต่ดูเหมือนว่าจนกระทั่งถึงขณะนี้ "เวิลด์ไวด์เว็บ" จะเป็นเหมือน "จักรกลมีชีวิต" ที่สามารถรังสรรค์ตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง และปราศจากการควบคุมใดๆ
ไม่มีใครคาดหมายได้ว่า มันจะนำอะไรมาสู่ชีวิตคนเรา สังคมของคนเราเป็นลำดับต่อไป
ในอีก 5 หรืออีก 10 ปีข้างหน้านี้!!!
หน้า 30,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2554
Subscribe to:
Posts (Atom)